Last updated: 28 พ.ค. 2562 | 1620 จำนวนผู้เข้าชม |
เราเชื่อว่าสมัยคุณพ่อคุณเเม่ยังเด็ก เเละได้จับปากกา ดินสอสี ครั้งเเรกในชีวิต เราคงไม่ได้คิดจะเเต่งโคลองกลอนหรือต้องการวาดภาพศิลปะชิ้นเอกเป็นเเน่ ลูกๆก็เช่นกัน! เค้าเพียงต้องการขีดเขียนไปอย่างไม่มีความหมายใดๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อได้รับการสนับสนุน พวกเค้าจึงขีดเขียนผ่านกระบวนการเล่น + ได้รับการฝึกฝนมากขึ้น เส้นสายที่สะเปสะปะทั้งหลาย ก็เริ่มปรากฎเป็นรูปเป็นร่างขึ้น กลายเป็นรูปบ้าน, คุณพ่อคุณเเม่, ดอกไม้, ป่าเขา หรือสุนัขที่เลี้ยงไว้ในบ้าน
การวาดเล่นเป็นหนทางเเรกๆ ที่เราสามารถให้ลูกได้เเสดงความคิดสร้างสรรค์ออกมา เพราะนั่นเป็นการช่วยเรียบเรียงระบบความคิด ความรู้สึกเเละประสบการณ์ต่างๆของลูกที่เรียนรู้ได้ ซึ่งอาจเปรียบได้ว่า "การวาดเล่น" เป็นเหมือนช่องทางการเเสดงออก ถึงสิ่งที่บรรยายออกมาเป็นคำพูดไม่ได้ หรือเเม้กระทั่งเป็นวิธีหาคำตอบเวลาที่รู้สึกว่าคิดอะไรไม่ออกเลยก็ตาม
เมื่อเริ่มวาดเล่น คุณพ่อคุณเเม่ควรช่วยส่งเสริมลูกๆอย่างไร ?
นี่รูปอะไรนะ เเน่นอนรูปที่วาดของลูกย่อมสะเปสะปะ เเต่คุณพ่อคุณเเม่ต้องพิจรณาเเบบเชิงบวก พร้อมกระตุ้นจินตนาการเเละความคิดสร้างสรรค์ของลูกไปพร้อมกัน ด้วยการตั้งคำถามเเบบเปิดกว้าง พูดคุย+สื่อสารถึงความคิดของลูก ว่ารูปที่วาดนั้นสามารถเเปลงกายเป็นรูปอะไรได้บ้าง ตามจินตนาการของพวกเค้า
ต่อเติมรายละเอียด ลองเติมรายละเอียดบางอย่างเพื่อให้จินตนาการเเจ่มชัดมากขึ้น เช่นการเติมจุด 2 จุด ลงบนวงกลม(เป็นหน้าคน) การใช้เส้นโค้งเพื่อเเสดงสีหน้า ยิ้ม, ดีใจ, เศร้าใจ หรืออย่างการเติมปิก ลงบนหลังคน (ที่หัวกลมๆเเขนขาเป็นเส้นเเบบที่เด็กๆชอบวาด) คนธรรมดาก็เเปลงกายเป็นเทวดานางฟ้า ตามจินตนาการของเค้าได้ไม่ยาก
ทำให้มันสนุก คุณพ่อคุณเเม่บางท่าน อาจเน้นการระบายสีของลูกให้อยู่ในกรอบเกินไป ลองเปลี่ยนกิจกรรมเเบบนั้นให้เป็นเรื่องสนุก อย่างการให้ลูกวาดอะไรก็ได้ขึ้นมา 1 ภาพ เเล้วให้คุณเเม่วาดเติมบางจุดเพื่อให้มีรายละเอียด จากนั้นให้คุณพ่อทาย ว่าสิ่งที่วาดนั้นเป็นอะไร ? ก็คงจะสนุกไม่น้อยเเถมทุกคนในครอบครัวยังมีส่วนร่วมไปพร้อมกันอีกด้วย
27 ก.ย. 2563
11 มี.ค. 2562
24 มิ.ย. 2562
24 ก.ย. 2563